เพลงพื้นบ้าน สุพรรณบุรี มีเพลงพื้นบ้านที่ร้องเล่นกันมาแต่สมัยโบราณ เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว ด้วยสุพรรณบุรีเป็นเมืองเกษตรแต่ดั้งเดิม อาชีพหลักคือการทำนา และประเพณีสำคัญที่ชาวสุพรรณรู้จักดี ก็คือประเพณี "ลงแขกเกี่ยวข้าว" คนสุพรรณเป็นคนที่มีนิสัยรื่นเริงชอบความสนุกสนาน เมื่อออกแรงทำนาเกี่ยวข้าว ก็จะหาอะไรที่สนุกเล่น แก้เหนื่อย ทำให้เกิดความคึกคัก ในระหว่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดเพลงพื้นบ้านขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำ เพลงสงฟาง คนสุพรรณเล่นเพลงเหล่านี้มา ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวดสืบต่อกันมา และขยายเป็นแหล่งชุมเพลงใหญ่ของประเทศ การเล่นเพลงพื้นบ้านนั้น ไม่ได้เล่นแค่คนสองคน แต่เล่นกันเป็นหมู่คณะ คนใหนเก่งก็เป็นพ่อเพลง แม่เพลง เก่งน้อยหน่อยว่าเองไม่ได้ ก็เป็นลูกคู่คอยกระทุ้ง บางคนก็คอยเคาะจังหวะ ตีเกราะ เคาะไม้ ตามสนุกพวกที่ร้องเล่นไม่ได้ ก็นั่งฟังหรือกระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะ
|
ด้วยเหตที่คนสุพรรณมีวิถีชีวิตใกล้ชิดอยู่กับเพลงพื้นบ้าน ทำให้เพลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจิตวิญญาน ของคนสุพรรณเกือบทุกคน ทำให้เกิดศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินที่มีชื่อเเสียงมากมาย
ครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ปี 2528
แม่บัวผัน จันทร์ศรี ศิลปินแห่งชาติ(เพลงพื้นบ้าน) ปี2533 ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ ปี 2537 แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ (เพลงพื้นบ้านแห่งยุค) ปี 2539 ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ (ยอดศิลปินเพลงแหล่) ปี 2540 |
|
ขวัญจิต ศรีประจันต์ ....ตำนานแม่เพลงอีแซว ศิลปินแห่งชาติ (เพลงพื้นบ้านแห่งยุค) ปี 2539 มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อ 3 สิงหาคม 2490 ที่ ต.วงน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นธิดาของนายอัง และนางปลด เสร็จกิจ มีพี่น้อง 3 คน
ขวัญจิต ศรีประจันต์ สนใจเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่อายุ 15 ปี และแม้เชื้อสายทางพ่อจะมีญาติเป็นพ่อเพลงที่มีชื่อเสียงของสุพรรณบุรี แต่พ่อก็ไม่สนับสนุนให้เป็นแม่เพลงพื้นบ้านด้วยเกรงว่าความเป็นสาวรุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องชู้สาวตามมา แต่กลับสนับสนุนลูกสาวอีกคนหนึ่งที่อายุยังน้อยให้ไปฝึกหัดเพลงพื้นบ้านกับพ่อเพลงไสว วงษ์งามแทน ความสนใจเพลงพื้นบ้าน ทำให้ขวัญจิตติดตามดูการร้องเพลงอีแซวของแม่เพลงบัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533) เป็นประจำและต่อมาได้มีโอกาสไปดูแลน้องสาวที่อยู่กับครูไสว จึงได้เรียนรู้การเล่นเพลงอีแซวแบบครูพักลักจำจนท่องเนื้อเพลงได้หลากหลาย ทั้งลีลาเพลงแนวผู้ชายของครูไสวและเพลงแนวผู้หญิงของครูบัวผัน
ขวัญจิต เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ และวรรณคดีเก่าๆของไทยอ่านแล้วก็นำเนื้อหานั้นมาแต่งเป็นเพลงอีแซว ร้องเล่นจนเกิดความแตกฉานซึ่งต่อมาได้ขอครูไสว แสดงบ้าง แม้ในระยะแรกๆครูไสวจะยังไม่อนุญาต แต่ในเวลาต่อมาเมื่อได้เห็นความอดทน ความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้แสดงความสามารถ และด้วยพลังเสียงที่กังวานมีไหวพริบ ปฏิภาณ เฉลียวฉลาดในการว่าเพลง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงอีแซวยิ่งนักขวัญจิต ได้ตระเวนเล่นเพลงอีแซวอยู่กับวงพื้นบ้านอีกหลายวงเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์จากพ่อเพลง แม่เพลงอีกหลายคนและเริ่มแสดงเพลงอีแซวในต่างจังหวัด และในกรุงเทพมหานคร ในงานสังคีตศาลา หรืองานสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวงเป็นประจำ ทำให้มีความแตกฉานในเรื่องเพลงอีแซวมากยิ่งขึ้น สามารถเขียนเพลงเอง เพื่อใช้ในการแสดงและโต้ตอบเพลงสดๆ กับพ่อเพลงได้อย่างคมคายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม หลังจากเล่นเพลงอีแซวจนมีชื่อเสียงแล้วขวัญจิต ได้สมัครเป็นนักร้องลูกทุ่งโดยเริ่มอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งคณจำรัศ สุวคนธ์(น้อย) และวงไวพจน์ เพชรสุพรรณ โดยได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกชื่อเพลง เบื่อสมบัติ งานเพลงของครู จิ๋ว พิจิตร เมื่อ ปี 2510 ทำให้เริ่มมีชื่อเสียงจากเพลงลูกทุ่งจากเพลง “เบื่อสมบัติ” , “ลาน้องไปเวียดนาม”, “ลาโคราช”, “ขวัญใจโชเฟอร์” , “เกลียดคนหน้าทน” , “ขวัญใจคนจน” “แม่ครัวตัวอย่าง “ และ “แหลมตะลุมพุก “ จากนั้นได้แต่งเพลงเองได้แก่ “กับข้าวเพชฌฆาต” , “น้ำตาดอกคำใต้” , “สาวสุพรรณ “ ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก ต่อมาจึงได้ตั้งวงดนตรีของตนเอง ชื่อวงขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นวงดนตรีที่นำระบบแสง สี เสียง ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ประกอบการแสดงนำเพลงอีแซวมาผสมผสานกับการแสดง เผยแพร่สู่ผู้ฟังทั่วประเทศจนเป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นอย่างดี พ.ศ. 2516 ขวัญจิต ยุติวงดนตรีลูกทุ่งแล้วกลับไปฟื้นฟูเพลงอีแซวที่ จ.สุพรรณบุรี อุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เผยแพร่และถ่ายทอดเพลงอีแซว ให้กับลูกศิษย์และผู้สนใจมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการในการเป็นวิทยากรสาธิต รับแขกบ้านแขกเมืองด้วยการแสดงพื้นบ้านติดต่อกันมาอย่างยาวนาน ที่มา: http://th.wikipedia.org ขอขอบคุณ คุณธเนต พุทธิพงษ์ สำหรับข้อมูลภาพถ่าย https://www.facebook.com/noi.gps ค่ายเพาะกล้าพันธุ์เก่งเพลงพื้นบ้าน โครงการวิจัยเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ๑๕ – ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ณ ศูนย์ภูมิปัญญาไทย บ้านแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย ประจำปี ๒๕๕๗ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ชื่อโครงการ ค่ายเพาะกล้าพันธุ์เก่งเพลงพื้นบ้าน โครงการวิจัยเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ที่ปรึกษา ๑. อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ๒. แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ๓. อาจารย์เอนก นาวิกมูล ๔. รองศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ผู้รับผิดชอบโครงการ ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัวผัน สุพรรณยศ ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติศักดิ์ เกิดอรุณสุขศรี ๓. อาจารย์มณทิรา ตาเมือง ๔. นาวาอากาศโทสมบัติ สมศรีพลอย ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอฬาร รัตนภักดี หลักการและเหตุผล ภาคกลางของไทยเป็นแหล่งขุมทรัพย์ภูมิปัญญาด้านเพลงพื้นบ้าน ดังจะเห็นได้จากผลการรวบรวมข้อมูลภาคสนามของ เอนก นาวิกมูล เมื่อประมาณปี ๒๕๒๑ พบว่ามีถึง ๔๕ ชนิด ( เพลงนอกศตวรรษ,๒๕๕๐, คำนำ ) ข้อมูลเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านภาคกลางทั้งที่เป็น “เพลงเก่า” ที่รวบรวมแล้วและยังไม่ได้รวบรวม และ “เพลงใหม่” ที่ยังไม่ได้รวบรวม ล้วนเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญและน่าสนใจ โดยเฉพาะมีแนวโน้มอย่างยิ่งที่จะสูญหาย เพราะวัฒนธรรมไทยนับวันจะยิ่ง “อ่อนแอ” และผู้สืบทอดก็ยิ่ง “อ่อนล้า” ด้วยเหตุที่ภาคกลางเป็น “แหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ” ที่สมบูรณ์เพียบพร้อม จึงเป็นที่ที่รองรับผู้คนจากหลายที่หลายถิ่น หลายชาติพันธุ์ และยังเป็น “ แอ่งน้ำใหญ่” ที่สายธารวัฒนธรรมอันหลากหลายไหลทะลักเข้ามาหลอมรวมปะปนโดยง่าย เพลงส่วนใหญ่ต้านกระแสวัฒนธรรมข้ามชาติไม่ไหวก็ล้า เสื่อมและสูญไปอย่างน่าเสียดาย ปัจจุบันเพลงพื้นบ้านภาคกลางยังคงเหลือเพียงไม่กี่ชนิด เช่น เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลำตัด และเพลงเรือ เหตุที่ยังมีลมหายใจแผ่วรินอยู่ได้นั้นส่วนหนึ่งอาจเพราะการส่งเสริมสนับสนุนจากสังคมและจากกลุ่มชาวบ้าน เช่น ปราชญ์ท้องถิ่น ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน ครูเพลงและผู้ถ่ายทอดต่าง ๆ แต่นับวันบุคคลเหล่านี้จะยิ่งลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย หลายคนเสียชีวิตแล้ว เช่น แม่ประยูร ยมเยี่ยม และพ่อหวังเต๊ะ ที่ยังคงเหลืออยู่ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้สูงอายุ บางคนมีปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการสืบสานเพลงพื้นบ้าน เช่น แม่ขวัญใจ ศรีประจันต์ มีอาการเจ็บป่วยมาหลายปี บางคนก็ถูกพิษมหาอุทกภัย เมื่อปี ๒๕๕๔ เช่น แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นต้น ด้วยเหตุที่ภาคกลางเป็นแหล่งภูมิปัญญาด้านเพลงพื้นบ้านที่สำคัญของประเทศ และนับวันผู้ถ่ายทอดที่มีความรู้ความสามารถจะลดน้อยลง กอปรกับผลการศึกษารวบรวมข้อมูลในภาพรวมที่เคยทำมานับเวลาแล้วนานกว่า ๓๐ ปี ข้อมูลย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลและบุคคล ข้อมูลทั้งหลายจึงควรได้รับการรวบรวมและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงพื้นบ้านภาคกลางจัดเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของชาติไทย และสมควรนำเสนอเพื่อเป็นมรดกโลกต่อไปด้วย กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงอนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี ๒๕๕๗ ให้แก่คณะผู้วิจัยในการดำเนินงานค่ายเพาะกล้าพันธุ์เก่งเพลงพื้นบ้านครั้งนี้ขึ้น วัตถุประสงค์ทั่วไป ๑. เพื่อรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านภาคกลางซึ่งชุมชนมีส่วนร่วม ๒. เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการสร้างสรรค์ การสืบทอดและการพิทักษ์รักษาเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดความพยายามในการพัฒนาแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาด้านเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ๓. เพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาด้านเพลงพื้นบ้านภาคกลาง อันจะนำไปสู่การเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ และนำเสนอยูเนสโกให้เป็นมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติในลำดับต่อไป วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๑. เพื่อจัดค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ๒. เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดและสืบทอดเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ๓. เพื่อจัดประชุมตรวจสอบ ยืนยันและลงฉันทามติข้อมูลเพลงพื้นบ้านภาคกลาง วิธีดำเนินโครงการ การจัดทำค่าย “เพาะกล้าพันธุ์เก่งเพลงพื้นบ้าน” มีรายละเอียด ดังนี้ ๑. ชี้แจงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของโครงการแก่ชุมชนผ่านเครือข่ายศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน กลุ่มรักษ์เพลงพื้นบ้าน คณะเพลงพื้นบ้านภาคกลาง และสื่อมวลชนต่างๆ เพื่อรับสมัครและคัดกรองผู้แทนชุมชนเข้าค่ายเพาะกล้าพันธุ์เก่งเพลงพื้นบ้านและร่วมเวทีเสวนาและให้ฉันทามติ จาก ๓๕ จังหวัด รวม ๗๐ คน ๒. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพลงพื้นบ้านภาคกลาง หัวข้อ “เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงฉ่อย ลำตัดและเพลงทรงเครื่อง” ๓. จัดเวทีเสวนาและให้ฉันทามติ ในวันสุดท้ายของการเข้าค่ายฯ ๔. รวบรวมข้อมูลภาคสนาม ตลอดระยะเวลาที่เข้าค่ายฯ โดยใช้วิธีการดังนี้ ๑.) การสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth interview) เป็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (informal interview) หรือพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ให้ข้อมูล ทำให้เกิดความไว้วางใจและได้ข้อมูลในระดับลึก ๒.) การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) โดยผู้รวบรวมข้อมูลจะเข้าร่วมสังเกตการณ์ ร่วมกิจกรรมกับชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลจริงมากที่สุด ๓.) การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยเชิญบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญเข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าการประชุมกลุ่มย่อยเป็นการสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนเป็นการตรวจสอบข้อมูลร่วมกันอีกด้วย ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลได้แก่ การจดบันทึก เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพนิ่ง และกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหว ๕.ประมวลผล ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลและเรียบเรียงรายงาน และจัดทำบัญชีรายการ ทั้งเอกสารหลักและเอกสารประกอบ ๖. ตรวจสอบ ยืนยันและให้ฉันทามติชุมชน โดยจัดการประชุมและนำเสนอต่อชุมชน เพื่อตรวจสอบ ยืนยันและให้ฉันทามติ ขอบเขตและกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลที่รวบรวมและจัดเก็บ กำหนดข้อมูล เพลงพื้นบ้านภาคกลางเฉพาะประเภทเพลงโต้ตอบของหนุ่มสาว ๕ ชนิด ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ ลำตัด และเพลงทรงเครื่อง เฉพาะที่สืบทอดอยู่ในปัจจุบัน โดยครูเพลง ศิลปินพื้นบ้าน และเยาวชน ทั้งที่เป็น “คณะ” หรือ “เคยเป็นคณะ” ซึ่งทุกคณะแสดง “เป็นอาชีพ” พื้นที่ในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล กำหนดพื้นที่รวบรวมข้อมูลในเขตภาคกลาง ทั้งหมด ๓๕ จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี กำแพงเพชร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานีประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุตรดิตถ์และอุทัยธานี กลุ่มเป้าหมายหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ชุมชน” ในที่นี้คือ ประชาคมหรือผู้แทนกลุ่มชนที่สืบทอดเพลงพื้นบ้านภาคกลางในเขต ๓๕ จังหวัด รวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า ๗๐ คน ได้แก่ ครูเพลง ศิลปินแห่งชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญา ศิลปินพื้นบ้าน ครูอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างสรรค์และสืบทอดเพลงพื้นบ้านภาคกลาง รวมทั้งคณะเพลงพื้นบ้านอาชีพ และคณะเพลงพื้นบ้านเยาวชนหรือสถาบันการศึกษาที่สืบทอดมาจากครูเพลงพื้นบ้าน ตลอดจนผู้ส่งเสริมและสนับสนุนเพลงพื้นบ้านภาคกลางกลุ่มต่าง ๆ เช่น นักวิชาการ บุคคลทั่วไปและสื่อมวลชน ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ณ ศูนย์ภูมิปัญญาไทย บ้านแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคลังข้อมูลมรดกภูมิปัญญาในขอบเขตประเทศไทย อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านการปกป้องคุ้มครองมรดก ภูมิปัญญาด้านเพลงพื้นบ้านภาคกลางในขอบเขตของประเทศไทยและของโลก ๒. ได้ความเข้าใจ ความเข้าถึง การยอมรับและฉันทามติในการปกป้องมรดกภูมิปัญญาด้านเพลงพื้นบ้านภาคกลางจากประชาคมชาวไทย รวมทั้งได้แนวคิดและแนวทางในการส่งเสริมและการพัฒนาเพลงพื้นบ้านภาคกลางสืบไปในบริบทที่เหมาะสม ๓. ได้เครือข่ายผู้สืบสานเพลงพื้นบ้านภาคกลางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้มีความศรัทธาและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของชาติ มีความพร้อมและความมุ่งมั่นที่จะสืบทอดและส่งเสริมเพลงพื้นบ้านด้วยตนเองอย่างยั่งยืนตลอดไป ระเบียบการสำหรับผู้เข้าฝึกอบรมเพลงพื้นบ้านภาคกลาง คุณสมบัติ ๑. เป็นผู้สืบทอดเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ๕ ชนิด ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงทรงเครื่อง เพลงเรือ เพลง อีแซวและลำตัด จากครูเพลงหรือหัวหน้าคณะเพลงที่แสดงเพลงดังกล่าวเป็นอาชีพ และผ่านการคัดกรองจากคณะผู้วิจัยแล้ว ๒. เป็นชาย/หญิง อายุ ๑๒ ปีขึ้นไป ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ต้องมีผู้ปกครองรับรองหรืออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ๓. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภาคกลาง ๓๕ จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี กำแพงเพชร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานีประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุตรดิตถ์และอุทัยธานี ๔. มีความมุ่งมั่นหมั่นเพียรที่จะรับการถ่ายทอดความรู้จากครูเพลงทุกคน สามารถถอดองค์ความรู้ที่ได้รับอย่างเต็มที่และเต็มใจ (กรอกแบบบันทึกการสังเกตและตอบสัมภาษณ์ทุกวัน) ข้อตกลง ๑. ค่ายนี้เป็นค่ายพิเศษ เพื่อรวบรวมข้อมูล วิจัย และเสนอให้เพลงพื้นบ้านเป็นมรดกโลก จึงเป็นค่ายรวมพลคนรักษ์เพลง มาเรียนรู้ แล้วเก็บความรู้ เพื่อตนเองและชาติของเรา ๒. ผู้เข้าค่ายไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อนึ่ง ค่ายนี้มีงบประมาณจำกัด จึงไม่มีการประกวด ไม่มีรางวัล เหมือนที่ผ่านมา ผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายนี้มีสิทธิพิเศษในการเข้าค่ายเพาะกล้าฯ รุ่น ๓ ที่จะจัดเหมือน รุ่น ๑ และ ๒ ในโอกาสต่อไป ๓. ผู้เข้าค่ายต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติทุกประการ Folk music, folk music, singing is the suphan buri played an ancient came like music, music, music, music relating to ship rice and choi, e to taunt with suphan buri is a traditional agriculture. The main occupation is farming. It is the tradition of "barn about rice," he said. People who have a habit of suphan carnival like fun. When the rice harvest, farming workers out to find anything fun to play to long cause a fuss. In between working together. Whether it's a song about rice. Dance music is. Music, song Fang people these Music Association Since Grandpa Grandpa, great-grandparents eyes beewax and expand as the country's largest music community sources. Folk music is played. Do not play just two people It may also have specific music or good music was my father's mother that the child did not even own a khoikrathung. Some people keep rhythmic tap hit armor. Knock on wood, that we didn't play for fun. They sit to listen or dance to the rhythm of hop by hop . With the road that people there are intimate lifestyle association with folk music. Making music is a part of the life spirit of Association almost everyone, causing the national artist and folk artist, an artist whose name is very important แสี .Teachers ' Council of the national artist of the year-2528 (1985) SI BUA River diversion of national artist Chan (folk music) year 2533 (1990) teacher notification of national artists like gold year khwanchit SI prachan 2537 (1994) mother's national artist (music, folk era) year 2539 (1996) .Teacher Double-Entendre or play on words Diamond national artists Association (top music artist to chant) the year 2540 (1997) .Music: folk songs to make fun of e-local of suphan buri with formation and widespread in the province, suphan buri and nearby. E music to mock the over 100-year-long early in it's music patiphak ( Young used to provoke complaints) that lovemaking roughly 60-70 when it briefly years ago and thus have developed as they have long patiphak music lyrics used to sing in a very long time. In addition, there have been develop by their clothes to wear a loincloth, both male and female Division. Best female Director to the shirt wears short sleeve square neck or wide wind stable. Man often wears short sleeve wind stable The flashy to attract audiences With a song in e to taunt made displayable almost every place and on every occasion, but it will not be shown in wedding .Band e to taunt, there will be no requirements. The number of those shows, but in a position of duty contributions show consists of music my father (a man vocals) Mae song (women's vocals) a ton (who sings the first dialog) two collections, A third (who sing a second and third) and his partner (an unlimited number is responsible for receiving complaints. Repeated requests for Requested interrupt interruption for fun) E there to taunt performs songs by sorting content. Start with the introduction to Wai teacher. Chapter Herald Chapter by chapter and end-to-end dash from the La Chapter? 1. Chapters offer teachers a lesson the Holy things and fashioned with the Triple Gem: the grace of angels spirit parents teachers (teachers of music to mock the two would have "a music teacher spirit" such as Vishnu's father found the hermit. "Teacher man" is a song from both music teachers, teachers ' room, is "luxury." which means the teacher who requested not to leave the rest, but did sneak a memorable song or Leela) to articles requiring teachers to pray to sit on the floor to sing with "Phan-kamnon" Or just lift up while singing By his mother's music, music is first, followed by the cry .2. Herald article is the lyrics of male and female Division before joining the met, according to a hypothetical event. Chapter Herald start after chapter to pray to the teacher ends. All exhibitors will rise to stand to sing "song selection" is content to say hello. Introduce yourself Followed by "music, dress up" If the event is assumed to persuade each other to go home. Home girls party, girls come out to sing "song to pacify," which is a song designed to persuade women to sing interact .3. Music is meant to sing both duel. Music Director of bands, there are several types of horizontal e love to make fun of (lovemaking) trend test (test of verbal skill, or test of wisdom) and genre subjects (carried a story on the subject of tales. Or literary) 4. lessons from the music or singing a good-bye to a couple desperate to play music, the audience, or say farewell audience or host employers provided show 5. To bless is to sing thanks to host and the audience, as well as thanks to the award provider .Khwanchit SI prachan Parent e-music legend .... to taunt national artist (folk songs of the era) year 2539 (1996) has a real name that spiral is an. Born on August 3 t. water band at 2490 lining, SI prachan,Suphan buri is a daughter of Mr. and Mrs. Andre detachment is an. There are 3 brothers who .Khwanchit SI prachan interested in folk music since the age of 15 years and even the descent on my father's father was a cousin of famous songs of suphan buri. But support for the daughter of one of the other young, go to practice their folk music song worthy. Wong beauty instead. Interested in folk music make khwanchit keep track of her singing a song to taunt DDF BOA e Chan SI (national artist,Prof. 2533 (1990)) on a regular basis, and later had the opportunity to care for a sister who is a teacher, it is worthy to learn to play a song and instructors need to taunt a pinch e until the tour of a variety of genres including lyrics, lilaphleng men and women teachers teacher's Guide music stage is composed of 1 m .Khwanchit is a man who likes to read books and literature of old Thai read the content, they make up a song to joke emails. Vocals played through a proficient, which subsequently asked the teacher what show is worthy. Even in the early stage, teachers will not be allowed for stage. Ambition and thus allow the stunt and energetic sound witty kangwan patiparn adroit in making music that is a favorite of students listening to music even more students to taunt the e .Khwanchit has been crawled, playing music with folk band to hoax e-mails, many bands learn and broaden the experience from his music. Many other songs and MOM began to show a song e. |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น